รู้จักหลักการจ่ายค่าตอบแทนที่มีประสิทธิภาพ

Posted on Category:Work Life
หลักการจ่ายค่าตอบแทน

ตอนนี้หลายคนอาจกำลังรู้สึกว่างานที่ตัวเองทำอยู่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่างานที่ต้องทำหนักก็หนัก แต่ความสัมพันธ์กับเรื่องเพื่อนร่วมงานกับไม่พัฒนาขึ้น แถมยังไม่มีโอกาสได้ปรับเลื่อนตำแหน่งหรือเพิ่มเงินเดือน ซึ่งบางครั้งอาจเกิดจากความเครียดและความกดดันในการทำงานช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการคิดไปเอง เราขอแนะนำให้รู้จักกับหลักการจ่ายค่าตอบแทนที่มีประสิทธิภาพเสียก่อน

หลักการจ่ายค่าตอบแทนที่มีประสิทธิภาพ

ข้างหลังมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 ประการ ดังนี้

1. Adequate 

การจ่ายค่าตอบแทนอย่างพอเพียง การจ่ายเงินต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามกฎหมาย โดยมีฝ่ายบริหารเป็นผู้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น องค์กรมีกำลังการจ่ายเงินสูงพอตามขั้นต่ำค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ เป็นต้น

2. Equitable 

ต้องมีความยุติธรรมและยึดหลักว่าพนักงานหรือคนในองค์กร ทุกคนต้องได้รับผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม โดยวัดจากความสามารถความรู้ ความพยายาม และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. balanced 

ผลตอบแทนที่ทางองค์กรจ่ายให้กับบุคลากร ต้องไม่ใช่แค่ค่าตอบแทนรายเดือนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมไปถึงค่าใช้จ่ายและสิทธิพิเศษอื่น ๆ ที่ควรจะได้รับ เช่น สวัสดิการ ค่าเดินทาง ตลอดจนผลประโยชน์และรางวัลตอบแทนที่ให้ในรูปแบบอื่น ๆ อย่างสมเหตุสมผล

4. Cost Effective 

การจ่ายต้องเป็นต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ องค์กรต้องจ่ายเงินให้กับบุคลากรในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไป โดยพิจารณาจากระดับความสามารถของหน่วยงานที่สามารถจ่ายได้

5. Secure 

มีความมั่นคง องค์กรต้องมั่นใจว่าเงินที่จ่ายให้กับพนักงานไม่ว่าจะเป็นในส่วนของผลตอบแทนที่ได้จากการทำงานหรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ จำเป็นต้องมั่นคงและเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้อย่างมั่นคง หรือหากต้องการนำไปใช้จ่ายอื่น ๆ ก็สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้

6. Incentive Providing 

ค่าตอบแทนต้องสร้างแรงจูงใจได้ องค์กรจำเป็นต้องมีการควบคุมผลตอบแทนที่มีแรงจูงใจปนอยู่ด้วย เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นอยากสร้างผลงานที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในครั้งถัดไป

7. Acceptable to the employee 

เป็นที่ยอมรับของพนักงาน ไม่ว่าองค์กรจะจ่ายเงินให้กับพนักงานมากหรือน้อย อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด เพราะสิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่ว่าพนักงานยอมรับได้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นค่าตอบแทนในส่วนของตัวเงินหรือไม่เป็นตัวเงินก็ตาม ดังนั้นต้องมั่นใจว่าค่าตอบแทนสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับคนในองค์กรได้อย่างยุติธรรม

คราวนี้หลายคนก็รู้กันแล้วว่าหลักในการจ่ายค่าตอบแทนที่มีประสิทธิภาพนั้นควรเป็นแบบไหน ซึ่งหากพบว่าชีวิตการทำงานของตัวเองที่เป็นอยู่ในตอนนี้พบว่าไม่ได้ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับความรู้ความสามารถที่ตนเองมี ก็ขอแนะนำว่าให้ลองคิดและไตร่ตรองให้ดีและเตรียมพร้อมงานอื่น ๆ ไว้รองรับ หากมีความต้องการอยากลาออกจริง ๆ หรือหากพบว่าผลตอบแทนที่ได้คุ้มค่าและยุติธรรมถือว่าคุณเป็นหนึ่งในคนที่โชคดีแล้ว

รู้จักแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน

Posted on Category:Work Life
คุณภาพชีวิตในการทำงาน

รู้หรือไม่ว่าคุณภาพชีวิตการทำงานของเราไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป แต่มีนักวิชาการและนักวิจัยหลายท่านให้นิยามและความหมายในแบบที่แตกต่างกันไป ซึ่งทฤษฎีไหนหรือแนวคิดไหนน่าสนใจบ้างนั้น เราจะพาไปทำความรู้จักให้มากขึ้น

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน

ในที่นี้เราขอยกตัวอย่างนักวิชาการมาทั้งหมด 6 ท่าน กับการนิยามคำว่าคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยมีรายละเอียดดังนี้

1. บุญแสง ชีวภากร 

คุณภาพชีวิตการทำงานหมายถึงความรู้สึกพึงพอใจที่แตกต่างกันไปตามวิธีการรับรู้ของแต่ละบุคคล โดยมีผลกระทบต่อการรับรู้ ความรู้สึก และความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจต่างกัน เช่น ลักษณะนิสัยเฉพาะตัว เนื้องาน ค่าตอบแทน

2. สิทธิโชค วรานุสันติกูล

ให้คำนิยามว่า คือ การปรับปรุงงานในองค์กรให้สมาชิกสามารถตอบสนองความต้องการส่วนตนผ่านประสบการณ์ในการทำงานผ่านองค์กรได้

3. ปิ่น ปรัชญพฤทธิ์ 

  • ชีวิตการทำงานที่มีศักดิ์ศรีเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่
  • คุณค่าความเป็นมนุษย์ของบุคลากร
  • ชีวิตการทำงานที่ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
  • องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัยได้อย่างครอบคลุม

4. เชอร์มาฮอร์น ฮั่น และออสบอร์น 1997

  • ภาพรวมของประสบการณ์การทำงานของบุคคลแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของบุคคลนั้น ๆ ที่มีต่องานอาชีพตลอดจนองค์กร
  • บุคคลที่มีผลงานประสิทธิภาพสูงแสดงว่าบุคคลมีความพึงพอใจในงานสูง
  • เป็นผลสะท้อนของการบริหารงานที่ดี

5. รอบบิ้น 1998

  • กระบวนการที่องค์กรได้ทำการตอบสนองความต้องการของคนในองค์กร
  • ส่วนใหญ่ช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในผลกระทบต่อการทำงานที่เกิดขึ้น
  • มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน เติบโตพร้อมกันในฐานะหนึ่งในคนที่มีส่วนร่วม

6. บุญจื่อ วงศ์เกษม

ระดับความพึงพอใจแต่ละคนที่มีต่อหน้าที่การงานเพื่อนร่วมงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

คำนิยามสำหรับคุณภาพชีวิตในการทำงานสรุปได้ว่า ควรมีลักษณะ ดังนี้

  • คนในองค์กรปฏิบัติงานอย่างมีความสุขและเต็มใจทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่
  • มีจุดมุ่งหมายในการบรรลุวัตถุประสงค์ไปในทางเดียวกัน
  • คนในองค์กรได้รับผลตอบแทนจากการทำงานอย่างเป็นธรรมและเพียงพอ จึงจะเรียกได้ว่ามีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี

อย่างไรก็ตามชีวิตการทำงานของคนเราในปัจจุบันนั้นไม่ได้เรียบง่ายหรือราบรื่นอย่างที่คิด ไหนจะปัญหาเรื่องค่าตอบแทน ไหนจะปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่บั่นทอนความเชื่อความอดทนที่เรามีต่องานนั้น ๆ ลงไปเกือบเท่าตัว จนบางคนเลือกตัดสินใจลาออกและมองหางานใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองมากกว่า ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะการเลือกอยู่กับองค์กรที่ไม่เอื้ออำนวยให้ชีวิตการทำงานของเราดีขึ้นนั้นไม่คุ้มค่าเลย

คุณภาพชีวิตการทำงานขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง

Posted on Category:Work Life
คุณภาพชีวิตการทำงาน

คุณภาพชีวิตการทำงานขึ้นอยู่กับความสามารถในการตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของบุคลากร รวมไปถึงความพึงพอใจ โดยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ สภาพการทำงาน ค่าตอบแทน ด้านการพัฒนาตัวเอง ความมั่นคง และความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่น โดยแต่ละองค์ประกอบจะมีรายละเอียดยังไงและมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานยังไง เราจะพาไปทำความเข้าใจให้มากขึ้น

คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร

วัดได้จากองค์ประกอบ 5 ด้าน ดังต่อไปนี้

1. ด้านสภาพการทำงาน

หากสภาพบรรยากาศการทำงานเต็มไปด้วยอุปสรรคและปัญหา จะยิ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นผู้นำองค์กรจึงจำเป็นต้องจัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม โดยการจัดระเบียบระบบงาน ควบคุมการกำกับงาน ระยะเวลาการทำงาน และจัดสรรสวัสดิการ รวมถึงการสัมผัสสิ่งคุกคามในที่ทำงาน ทั้งปัจจัยทางชีวภาพและกายภาพให้มีความสอดคล้องกันกับคนทั้งองค์กร

2. ด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสม

ค่าตอบแทนที่วัดคุณภาพชีวิตของการทำงาน โดยส่วนใหญ่วัดเป็นตัวเงิน ไม่ใช่แค่เงินเดือน แต่รวมถึงค่าเบี้ยเลี้ยง โบนัส ค่าล่วงเวลา เงินพิเศษ และประโยชน์อื่น ๆ เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร ค่ารักษาพยาบาล หรือการเข้าร่วมกิจกรรม หรือการบริการใด ๆ ต้องให้มีความเหมาะสมต่อความรู้ความสามารถและงานที่รับผิดชอบ

3. ด้านการพัฒนาตนเอง

องค์กรที่ดีต้องมีการมอบประสบการณ์ที่นอกเหนือไปจากการทำงานให้กับคนในองค์กรได้ เช่น ศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ หรือมีกิจกรรมให้เข้าไปมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะในชีวิตประจำวันและเข้าใจถึงบทบาทของตนเอง

4. ด้านความมั่นคงในหน้าที่การงาน

คุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีจะวัดจากความมั่นคงในหน้าที่การงานว่ามีโอกาสก้าวหน้าในสายอาชีพหรือสายตำแหน่งของตัวเองมากแค่ไหน มีโอกาสได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับคนในองค์กร

5. ด้านความสมบูรณ์ระหว่างชีวิตงานและชีวิตด้านอื่น ๆ 

คนเราไม่ได้ใช้ชีวิตโดยมีงานเป็นตัวขับเคลื่อนเพียงหนึ่งเดียว แต่มีชีวิตด้านอื่น ๆ ที่ต้องใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน การดูแลตัวเอง การเดินทางท่องเที่ยว การใช้เวลากับครอบครัว ซึ่งระยะเวลาส่วนนี้ต้องมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและสมดุลกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

เห็นหรือไม่ว่าการมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีบอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเราเพียงฝ่ายเดียว แต่ในฐานะผู้นำองค์กรก็มีส่วนที่จะกำหนดแนวทางต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการใช้ชีวิตของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นการจัดสภาพแวดล้อม ค่าตอบแทน การพัฒนาตนเอง หรือการแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงหรือความสมดุลระหว่างหน้าที่ต้องรับผิดชอบ กับกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวัน หากสิ่งเหล่านี้ไม่สอดคล้องหรือมีส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับการเติมเต็ม คุณภาพย่อมแย่ลงและนำมาซึ่งการตัดสินใจเพื่อเปลี่ยนแปลง