รู้จักแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน

Posted on Category:Work Life
คุณภาพชีวิตในการทำงาน

รู้หรือไม่ว่าคุณภาพชีวิตการทำงานของเราไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป แต่มีนักวิชาการและนักวิจัยหลายท่านให้นิยามและความหมายในแบบที่แตกต่างกันไป ซึ่งทฤษฎีไหนหรือแนวคิดไหนน่าสนใจบ้างนั้น เราจะพาไปทำความรู้จักให้มากขึ้น

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน

ในที่นี้เราขอยกตัวอย่างนักวิชาการมาทั้งหมด 6 ท่าน กับการนิยามคำว่าคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยมีรายละเอียดดังนี้

1. บุญแสง ชีวภากร 

คุณภาพชีวิตการทำงานหมายถึงความรู้สึกพึงพอใจที่แตกต่างกันไปตามวิธีการรับรู้ของแต่ละบุคคล โดยมีผลกระทบต่อการรับรู้ ความรู้สึก และความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจต่างกัน เช่น ลักษณะนิสัยเฉพาะตัว เนื้องาน ค่าตอบแทน

2. สิทธิโชค วรานุสันติกูล

ให้คำนิยามว่า คือ การปรับปรุงงานในองค์กรให้สมาชิกสามารถตอบสนองความต้องการส่วนตนผ่านประสบการณ์ในการทำงานผ่านองค์กรได้

3. ปิ่น ปรัชญพฤทธิ์ 

  • ชีวิตการทำงานที่มีศักดิ์ศรีเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่
  • คุณค่าความเป็นมนุษย์ของบุคลากร
  • ชีวิตการทำงานที่ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
  • องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัยได้อย่างครอบคลุม

4. เชอร์มาฮอร์น ฮั่น และออสบอร์น 1997

  • ภาพรวมของประสบการณ์การทำงานของบุคคลแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของบุคคลนั้น ๆ ที่มีต่องานอาชีพตลอดจนองค์กร
  • บุคคลที่มีผลงานประสิทธิภาพสูงแสดงว่าบุคคลมีความพึงพอใจในงานสูง
  • เป็นผลสะท้อนของการบริหารงานที่ดี

5. รอบบิ้น 1998

  • กระบวนการที่องค์กรได้ทำการตอบสนองความต้องการของคนในองค์กร
  • ส่วนใหญ่ช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในผลกระทบต่อการทำงานที่เกิดขึ้น
  • มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน เติบโตพร้อมกันในฐานะหนึ่งในคนที่มีส่วนร่วม

6. บุญจื่อ วงศ์เกษม

ระดับความพึงพอใจแต่ละคนที่มีต่อหน้าที่การงานเพื่อนร่วมงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

คำนิยามสำหรับคุณภาพชีวิตในการทำงานสรุปได้ว่า ควรมีลักษณะ ดังนี้

  • คนในองค์กรปฏิบัติงานอย่างมีความสุขและเต็มใจทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่
  • มีจุดมุ่งหมายในการบรรลุวัตถุประสงค์ไปในทางเดียวกัน
  • คนในองค์กรได้รับผลตอบแทนจากการทำงานอย่างเป็นธรรมและเพียงพอ จึงจะเรียกได้ว่ามีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี

อย่างไรก็ตามชีวิตการทำงานของคนเราในปัจจุบันนั้นไม่ได้เรียบง่ายหรือราบรื่นอย่างที่คิด ไหนจะปัญหาเรื่องค่าตอบแทน ไหนจะปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่บั่นทอนความเชื่อความอดทนที่เรามีต่องานนั้น ๆ ลงไปเกือบเท่าตัว จนบางคนเลือกตัดสินใจลาออกและมองหางานใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองมากกว่า ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะการเลือกอยู่กับองค์กรที่ไม่เอื้ออำนวยให้ชีวิตการทำงานของเราดีขึ้นนั้นไม่คุ้มค่าเลย